04 มีนาคม 2555

ปัญหารที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง

ชาโลม

ถึงพี่น้องที่รักในพระเยซูคริสต์ชาวนาซาเร็ธ

1 โคริทร์ 16 ข้อ 13 บอกว่า : “1คร. 16:13 ท่านทั้งหลายจงระมัดระวัง จงมั่นคงในความเชื่อ จงเป็นคนกล้าหาญจงเข้มแข็ง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นามานี้

พวกเราเดินทางมาถึงเมืองดิยาบากีร์ (อยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี ติดกับชายแดนตุรกี-อิรัก) พวกเราได้เดินอยู่แถวกำแพงเมืองเก่าซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำไทกริส ได้มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับผม คอมพิวเตร์แท็ปเล็ทของผมหาย! ซึ่งมันเป็นสิ่งเดียวที่ผมได้นำติดตัวในการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งภายในนั้นผมได้ใส่โปรแกรมพระคัมภีร์ หนังสือคู่มือสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ และหนังสืออิเล็คทรอนิคอีกหลายเล่ม ข้อมูลอีเมล์ต่างๆ เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และผมถูกกระชากและขโมยไปโดยทันทีจากมิจฉาชีพที่อยู่ในละแวกของเมืองเก่า เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ผมก็ได้วิ่งไล่ตามไปในทันที และตะโกนเสียงดังลั่นว่า ... ขโมย ขโมย” ... ชาวบ้านในละแวกนั้นก็พยายามช่วยเหลือผมโดยการบอกให้ผมทราบว่าขโมยได้วิ่งไปทางไหน แต่ไม่มีใครช่วยจับ

หลังจากที่ผมวิ่งตามไปได้สักพัก ผมก็รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะวิ่งตาม ดังนั้นผมจึงตัดสินใจที่จะหยุดตาม และผมเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าผมได้ละเจนนี่ไว้เพียงลำพัง ผมเป็นห่วงว่าเธออาจจะหลงทางได้ อย่างไรก็ดี เธอได้วิ่งตามผมมาถึงจุดที่ผมยืนอยู่ จากนั้นมีผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการแจ้งตำรวจให้ และพาพวกเราเข้าไปรออยู่ที่ภายในโรงเรียนใกล้ๆแถวนั้น พวกเรารอจนกระทั่งตำรวจมา

เมื่อตำรวจมาถึง พวกเขาได้พาพวกเราไปยังสถานีตำรวจ มีรถตำรวจนำหน้าพวกเราจำนวนสามคัน ทำเหมือนกับว่าพวกเราเป็นแขกสำคัญระดับวีไอพี....! ที่สถานีตำรวจ ผมได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ตำรวจที่นี่ได้ให้ความช่วยเหลือพวกเราเป็นอย่างมาก ... แน่นอนผมรู้สึกเสียดายที่ต้องสูญเสียคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่ผมมีติดตัวไปเพียงแค่ชิ้นเดียว แต่ก็ขอบคุณพระเจ้าที่ผมและเจนนี่ปลอดภัย ขอบคุณพระเจ้า!

กลับมาพูดถึงเรื่องรายงาน

เมื่อพูดถึงการเดินทางมาทำพันธกิจในประเทศอิรักโดยการเดินทางผ่านประเทศตุรกีมันไม่ใช่งานที่ง่ายเลย มีอุปสรรค์เกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง ศรัทธาเป็นกำลังสำคัญในชีวิตของพวกเรา... ใช่ พวกเราเชื่อและรักพระเจ้า จะเชื่อฟังและเฝ้าติดตามพระองค์ และสรรเสริญพระองค์ในทุกสถานการณ์

วันที่ 29 มกราคม 2012 พวกเราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ และไปเปลี่ยนเครื่องที่เมืองเคียฟ (ประเทศยูเครน) เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองอิสตันบูล (ประเทศตุรกี) ใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 14 ชั่วโมง ... เมื่อพวกเราเดินทางมาถึงที่หมายแล้ว พวกเราก็รอโหลดกระเป๋าเดินทางจากทางสายการบิน (ภายในกระเป๋าเดินทางของพวกเรามีเสื้อผ้า ของใช้ในห้องน้ำ ปลั๊กไฟต่างๆสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค อาหารแห้ง และเครื่องดื่ม) พวกเรารอกระเป๋าเป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง แต่ไม่มีกระเป๋าของพวกเราออกมา ดังนั้นพกวเราจึงไปติดต่อที่เคาน์เตอร์ Lost and Found (แผนกของหายและหาพบ) ซึ่งพนักงานได้บอกกับพวกเราว่ากระเป๋าเดินทางของพวกเรายังคงอยู่ที่เมืองเคียฟ และให้พวกเรามาติดต่อรับคืนในวันถัดไป (ให้มาติดต่อใหม่ในเวลาเที่ยงถึงหกโมงเย็น) ผมไม่ได้ซื้อประกันภัยการเดินทาง ผมไม่สามารถเคลมเรื่องกระเป๋าเดินทางล่าช้าได้เลย และเหตุผลที่ผมไม่ได้ซื้อประกันก็เพราะว่างบประมาณด้านการเงินมีไม่เพียงพอ

ดังนั้นพวกเราจึงต้องออกมาด้วยความไม่เต็มใจ แล้วก็เดินทางต่อจากสนามบินเพื่อเข้าไปในเมือง และเมื่อพวกเราไปถึงตัวเมืองแล้วหิมะก็เริ่มตกหนักมาก พวกเราใส่เสื้อผ้าไม่ค่อยหนาจึงทำให้รู้สึกได้ว่าอากาศช่างหนาวเย็นเหลือเกิน

จากนั้นผมก็พยายามติดต่อเจ้าของห้องชาวออสเตรียซึ่งผมได้ติดต่อขอเช่าห้องเอาไว้ เราตกลงกันที่ราคา 150 ยูโร (6,000 บาท) สำหรับการเข้าพักเป็นเวลาสองสัปดาห์ พวกเรารอเขาอยู่เกือบหนึ่งชั่วโมงแต่เขาก็ไม่มา มันทำให้ผมเริ่งเป็นกังวล เวลานั้นมันเป็นเวลา 17.30 น. อากาศก็เริ่มเย็นลงเรื่อยๆ และหนาวมากๆ เบอร์โทรศัพท์ไทยของผมไม่มีเงินอยู่ในเครื่องเลย ผมจึงตัดสินใจเดินเข้าไปในร้านอาหารจีนแห่งหนึ่งเพื่อขอความช่วยเหลือ ผมขอให้เขาช่วยโทรศัพท์ติดต่อชาวออสเตรียคนนั้นให้แก่ผม ไม่เช่นนั้นแล้วพวกเราอาจจะต้องนอนข้างถนนแน่ๆ พี่น้องชายท่านนั้นก็พยายามติดต่อให้แก่ผม แต่ก็ไม่มีคนรับสาย.... เวลาผ่านไป ในที่สุดก็ติดต่อเขาได้! ขอบคุณพระเจ้า พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน สดุดี 23 ข้อ 1


ในวันถัดมา พวกเราเดินทางกลับไปที่สนามบินเพื่อติดต่อขอรับกระเป๋าเดินทาง แต่แล้วก็มีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในวันที่สองของการเดินทาง นั่นคือ เจนนี่ได้เกิดลื่นล้มบนพื้นหิมะที่กลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ หลายวันมานี่เธอรู้สึกปวดและทรมานมากจากการลื่นล้มในครั้งนั้น

ระหว่างสองสัปดาห์ พวกเราได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนท้องถิ่นและพยายามทำความสนิทสนมกับพวกเขา วันหนึ่ง ผมได้ไปเดินหาซื้อแผ่นชุดน้ำยาทำความสะอาดซีดีเพื่อที่จะช่วยเพื่อนชาวออสเตรียในการซ่อมแซมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของเขา ในขณะที่ผมหา ผมก็พยายามต่อรองราคาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผมก็เจออยู่ร้านเดียวเท่านั้นที่ขาย ผมก็เลยไม่มีทางเลือกเพราะว่าเขาขายในราคา 10 ลิล่าห์ (200 บาท) หลังจากที่ต่อรองราคากันอยู่นานจนเหลือ 5 ลิลาห์ (100 บาท) คนขายก็ถามผมขึ้นมาว่า คุณมาจากประเทศอะไรผมก็ตอบกลับไปว่า ผมเป็นคนมาเลย์เซียแล้วคนขายก็ทำหน้าตาเปลี่ยนไปโดยทันทีทันใด เต็มไปด้วยความดีใจอย่างมาก และบอกผมว่า สำหรับคุณแล้วผมให้ฟรี” ... ประเทศมาเลย์เซียเปรียบเสมือนเป็นพี่ชายของประเทศตุรกี ขอบคุณพระเจ้าสำหรับพี่น้องที่แสนดีท่านนี้... พวกเราไม่รู้หรอกว่าพระเจ้าจะอวยพระพรให้กับพวกเราในเวลาใด ขอบคุณพระเจ้า!

ค่าใช้จ่ายในเมืองอิสตันบูลแพงมาก... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร รถโดยสารประจำทาง และที่พักอาศัย ยกตัวอย่างเช่น เกสต์เฮ้าส์ราคาถูกที่สุดอยู่ที่ 30 ยูโร (1,200 บาท) ต่อคืน อาหารที่ถูกที่สุดคือ คาบับไก่ ราคา 3 ลิล่าห์ (60 บาท) ปลาครึ่งตัว ราคา 9 ลิล่าห์ (180 บาท) รถประจำทางราคา 2 ลิล่าห์ (40 บาท) ต่อคนต่อเที่ยว

ในวันเกิดของผมปีนี้ ผมเลือกไปทานอาหารที่พิเศษคือ ผัดหมี่ ซึ่งภายในมีแต่เส้นก๋วยเตี๋ยวกับผักเท่านั้น ไม่มีเนื้อสัตว์ ไม่มีไข่... ราคาอยู่ที่ชามละ 10 ลิล่าห์ (200 บาท)

ในระหว่างสองอาทิตย์นี้ พวกเราได้ไปสามัคคีธรรมร่วมกับพี่น้องชาวอามาเนียนซึ่งรับใช้อยู่ที่สมาคมพระคริสตธรรมไบเบิ้ลตุรกี

วันที่ 3 และวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พวกเราไปเยี่ยมคริสตจักรท้องถิ่นของที่นี่ คือ Istanbul Pentecostal Church ซึ่งผู้ปกครองของคริสตจักรได้แนะนำให้เรารู้จักกับศิษยาภิบาลของคริสตจักร ท่านเป็นคนสเปนและรับใช้อยู่ที่นี่มา 15 ปี คริสตจักรแห่งนี้เป็นคริสตจักรแห่งสุดท้ายที่ทางรัฐบาลตุรกีอนุญาติให้ก่อสร้างอาคารคริสตจักรขึ้นมา

ในรายงานฉบับหน้า ผมจะพูดถึงพันธกิจที่เมืองอัลตัลยา

การบาดเจ็บของเจนนี่ (เรื่องกระดูกก้นกบ [tail bone] และอาการ[panic attack] และรวมไปถึงปัญหาเรื่องของวีซ่า พวกเราตัดสินใจที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯในเร็วๆนี้ หากพวกเราสามารถหาตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดได้ เนื่องจากเรามีงบประมาณที่จำกัด

เกี่ยวกับประเทศอิรัก เคอร์ดิสถาน

ไม่มีข้อมูลอธิบายใดๆเอาไว้เลยในอินเตร์เน็ต ซึ่งผมได้พยายามใช้เวลาค้นหามาเป็นเวลาหนึ่งเดือน และรวมไปถึงได้ติดต่อไปยังสถานทูตอิรักด้วย

การขอวิซ่าท่องเที่ยวเข้าประเทศอิรัก เคอร์ดิสถาน (ประเทศอิรักแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ หนึ่งเขตปกครองตนเองคือ อิรัก เคอร์ดิสถาน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิรักมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศตุรกี ซีเรีย และอิหร่าน และสองประเทศอิรักหรือที่เราเรียกกันว่าสาธารณรัฐอิรัก) นั้นทางรัฐบาลไม่อนุมัติวีซ่าให้หรับหนังสือเดินทางของทุกประเทศ (ยกเว้นผู้ถือพาสปอร์ตของประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยุโรป แคนนาดา นิวซีแลนด์ เท่านั้นที่สามารถเดินทางเข้าไปได้) แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าไปที่นั่นจะต้องมีจดหมายเชิญจากคนท้องถิ่นที่หรือคนที่ทำงานอยู่ที่นั่น และจะต้องได้รับการประทับตรารับรองและอนุมัติจากกระทรวงของรัฐบาลเคอร์ดิสถานเสียก่อน ซึ่งมันไม่ง่ายเลยที่จะขอการอนุมัติจากทางรัฐบาล และมันก็ต้องใช้ระยะเวลานานมาก

การเดินทางเข้าประเทศอิรัก เคอร์ดิสถาน ไม่ว่าจะเป็นทางรถหรือทางเครื่องบิน จำเป็นที่จะต้องแสดงจดหมายเชิญที่ประทับตรารับรองจากรัฐบาลแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถขออนุมัติวีซ่าเข้าประเทศได้ ส่วนการที่เราไปติดต่อสถานทูตอิรักเพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องวีซ่านั้นไม่มีประโยชน์ เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือให้เราเข้าประเทศอิรัก เคอร์ดิสถานได้

ส่วนการเดินทางเข้าประเทศสาธารณรัฐอิรักนั้นจะทำได้เฉพาะบุคคลที่ถือสัญชาติจากสองประเทศเท่านั้นนั่นคือ หนึ่ง ทหารอเมริกันที่มีบัตรประจำตัวอย่างถูกต้อง และอีกประเทศหนึ่งคือประเทศมาเลย์เซีย แต่ว่าก็จำเป็นที่จะต้องมีจดหมายเชิญจากผู้ที่พักอาศัยหรือทำงานอยู่ที่อิรักด้วยจึงจะสามารถขออนุมัติวีซ่าได้ที่ด่านชายแดนหรือสนามบิน และสามารถอยู่ได้ 14 วัน

แผนการต่อไป

บางทีในปลายปีนี้ ผมจะเดินทางกลับมาที่เมืองโมซูล ประเทศอิรัก อีกครั้งหนึ่ง เพราะผมรู้สึกว่าพระเจ้าทรงเรียกให้ผมไปที่นั่นตั้งแต่เมื่อห้าปีก่อน... โดยมีเหตุผลบางอย่าง มีชนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งกำลังรอผมอยู่ที่นั่นซึ่งผมเองก็ไม่รู้จักพวกเขา

ขอพระเจ้าทรงนำผม... ในเวลาของพระองค์... แล้วแต่ว่าพระองค์จะทรงเลือว่าเมื่อไหร่และที่ไหน... สำหรับผมแล้วมีหน้าที่ทำตามพระประสงค์ของพระองค์

สรรเสริญพระเจ้าและขอถวายพระเกียรติแด่พระองค์

พระเจ้าอวยพร

ศจ.สตีฟ ปีเตอร์ เฮช เอส ค๊อค